เกี่ยวกับ ขนส่ง

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  

ราคาน้ำมัน  

หาระยะทาง  

ท่าเรือแหลมฉบัง  
อื่นๆ

กรมศุลกากร  

หนังสือพิมพ์  

ดูดวง  
 
 
มีหนี้ ใช้หนี้ มีสุข

มีหนี้ ใช้หนี้ มีสุข : คอลัมน์วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล 

     ได้รับเมลจากคุณผู้อ่าน “วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน” ประมาณว่า มีเงินเก็บอยู่ 2 แสนบาท จะเคลียร์หนี้บ้านที่คงค้างอีก 3 แสนบาททั้งหมดเลย หรือจะเอาเงินไปลงทุนในทองคำดี ตอบเมลไปว่า ชีวิตถ้ายึดหลัก “มีหนี้ ต้องใช้หนี้” ชีวีก็น่าจะมีความสุขเพิ่มขึ้นเท่าตัวแล้ว

เพราะแม้ว่า “หนี้จะก่อให้เกิดความสุข” เนื่องจากตอบสนองความต้องการทางวัตถุให้แก่เราได้แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า “หนี้ก่อให้เกิดความทุกข์” ได้เช่นกัน เพราะหนี้เป็นตัวถ่วง จะเดินหน้า จะลงทุน จะทำอะไร ก็เหมือนกับมี “เจ้าหนี้” คอยติดตาม คอยเกาะติด ถ้าเคลียร์หนี้ได้ ก็หมดตัวถ่วงที่คอยฉุดรั้ง rolex submariner replica

                 แต่จะใช้หนี้หมดทั้งจำนวนหรือไม่ ก็ต้องหันกลับไปดูว่า เรามี “เงินสำรอง” หรือ “เงินเก็บ” ก้อนอื่นอีกหรือไม่ เพราะถ้าไม่มี แล้วใช้เงิน 2 แสนโปะค่าบ้านทั้งหมด ก็เท่ากับไม่มีทุนสำรองเผื่อภาวะฉุกเฉินไว้เลย ดังนั้น ดีที่สุด ก็คือ มีเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน และใช้หนี้ให้ได้มากที่สุด ส่วนเรื่องลงทุนนั้น ผลักเอาไว้หลังสุดก็ไม่เสียหาย ไม่เสียโอกาสอะไร ทำนองว่า ทำตัวให้ปลอดหนี้ มีเงินเหลือเก็บ แล้วค่อยคิดลงทุน

                พูดถึงเรื่อง “หนี้” มีบทความของ ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล หรือ K-We Plan ธนาคารกสิกรไทย เรื่อง “บริหารหนี้อย่างไรให้มีความสุข” ก็เลยขออนุญาตนำมาแบ่งปัน ให้คนที่เป็นหนี้มีกำลังใจ ส่วนคนที่ยังไม่ได้ก่อหนี้ก็อาจจะมีความกล้าในการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวเอง เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตให้สมบูรณ์ขึ้น รวมถึงรู้วิธีบริหารหนี้ให้มีความสุขได้

                 สาระสำคัญของบทความนี้ บอกว่า ข้อดีของการเป็นหนี้คือ ตอบสนองความต้องการให้แก่ชีวิตได้ แต่แน่นอนว่า ไม่มีใครที่ไหนอยากให้ตัวเองอยู่ในสถานการณ์ผ่อนหนี้ไม่ไหว ขนาดที่ว่าต้องไปยืมที่อื่นมาต่ออายุหนี้ก้อนเดิม หรือซ้ำร้ายอาจถูกยึดสินทรัพย์ถูกฟ้องล้มละลาย ดังนั้น ก่อนที่จะก่อหนี้ขึ้นมาไม่ว่าจะด้วยเหตุจำเป็นหรือไม่ก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาว่าเมื่อเราไปก่อหนี้แล้ว ภาระการผ่อนในแต่ละเดือนจะหนักหนาสาหัสเกินกว่าที่จะรับไหวหรือไม่

                 K-We plan แนะนำให้ลองเปรียบเทียบภาระการผ่อนต่อเดือนกับรายได้หรือที่เรียกว่า “อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อรายได้” โดยคำว่า “หนี้สิน” ในที่นี้หมายความเฉพาะยอดหนี้ที่ต้องชำระต่อเนื่องกันหลายเดือน เช่น ยอดผ่อนชำระเงินกู้ซื้อบ้าน เงินกู้ซื้อรถ รวมทั้งการแบ่งจ่ายชำระด้วยบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิตสดเป็นรายเดือน เป็นต้น แต่จะไม่รวมถึงกรณีที่ซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตแล้วมีการชำระเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนด เพราะถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกเรื่องการใช้จ่าย ไม่ใช่ภาระหนี้ตามนิยามนี้

                 ส่วนคำนิยามของรายได้นั้น แม้หลักการวางแผนการเงินจะไม่ได้บอกไว้อย่างชัดเจน บางท่านอาจจะใช้เฉพาะรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว หรืออาจจะนำประมาณการโบนัส ค่านายหน้า หรือรายได้อื่นๆ มารวมกันเป็นต่อปีแล้วหารสิบสองเพื่อแปลงเป็นรายได้ “เฉลี่ย” ต่อเดือน แต่ K-We plan แนะนำให้ใช้เฉพาะรายได้ที่มีความแน่นอนสูง คือ รายได้ประจำจากเงินเดือน เพื่อจะได้ประเมินสถานการณ์ทางการเงินได้อย่างถูกต้อง และหากเป็นไปได้ก็ควรเลี่ยงไม่นำโบนัสเข้ามาคำนวณด้วย เพราะจะทำให้เราเห็นภาพความสามารถในการชำระหนี้ที่สูงเกินไป เนื่องจากในทางปฏิบัติภาระการผ่อนชำระจะเกิดขึ้นแบบเดือนต่อเดือน ขณะที่รายได้จากโบนัสจะเข้ามาปีละครั้งหรือสองครั้ง ทำให้การจับคู่กระแสเงินสดเข้าออกจะไม่สอดคล้องกัน

                 ในส่วนของแนวคิดเรื่องการวางแผนการเงินนั้น แนะนำว่า เราไม่ควรมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อรายได้สูงกว่า 35% ตัวอย่างเช่น หากมีเงินเดือนที่ 3 หมื่นบาท มีภาระการผ่อนชำระ เช่น แบ่งจ่ายชำระค่ามือถือ 1,500 บาทต่อเดือน และผ่อนเงินกู้คอนโดมิเนียม 7,500 บาทต่อเดือน ในกรณีนี้ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อรายได้อยู่ที่ 30% (ยอดรวมภาระหนี้ที่ 9,000 บาทต่อเดือน หารด้วยเงินเดือน 3 หมื่นบาทต่อเดือน) ก็อยู่ในระดับที่สามารถชำระหนี้ได้ ไม่หนักเกินไป แต่ควรระวังไม่ไปก่อหนี้เพิ่ม

                 อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่ K-We plan ยกมานั้นจะใช้สำหรับการประเมินภาระหนี้แบบภาพรวมเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ควรทราบ คือ ภาระหนี้สินมีอยู่ 2 ประเภท คือ ระยะยาวซึ่งมีกำหนดการผ่อนมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ซึ่งมักเป็นเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน รถยนต์ ธุรกิจ อีกประเภทหนึ่งคือ หนี้สินระยะสั้นที่ต้องผ่อนชำระภายใน 1 ปี คือหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือ เป็นต้น

                 อัตราส่วนการเงินอีกตัวหนึ่งที่ควรทราบคือ “อัตราส่วนหนี้สินระยะสั้นต่อรายได้” ซึ่งอัตราส่วนนี้ไม่ควรเกิน 15% วิธีการคำนวณก็คล้ายกัน แต่เลือกคำนวณเฉพาะหนี้สินระยะสั้นเท่านั้น หากย้อนไปดูตัวอย่างเดิม เราสามารถคำนวณอัตราส่วนหนี้สินระยะสั้นต่อรายได้เท่ากับ 5% (ภาระหนี้สินระยะสั้น 1,500 บาทหารด้วยเงินเดือน 3 หมื่นบาท) เหตุที่การวางแผนการเงินแนะนำเช่นนี้ เพราะไม่ต้องการให้ไปก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคมากเกินไป เพราะถือว่าเป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือให้มูลค่าเพิ่มในระยะยาว

                 การก่อหนี้แล้วได้มาซึ่งสินทรัพย์ก็อาจคล้ายกับการแต่งงาน คือดูเหมือนว่าจะบรรลุเป้าหมายแล้ว แต่จริงๆ เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะต้องรับผิดชอบคู่สมรสของเราให้ดีไปตลอดรอดฝั่ง เช่นเดียวกัน การก่อหนี้คือเราต้องดูแลให้ตัวเราเองสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดนั่นเอง

                สำหรับคนที่สนใจในเรื่องของการบริหารหนี้ บริหารเงินหรือบริหารการลงทุน ลองคลิกที่เว็บไซต์ของ K-We plan แล้วศึกษาอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้การดูแลจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ทำได้ง่ายขึ้นมาก เว้นเสียแต่ว่ายากที่สุดคือ รู้แล้วไม่ยอมทำ

แหล่งที่มา: www.kumchadluek.net


<< ย้อนกลับ >>
 

 
         
  © 2009 Patarapong Logistics Co., Ltd. All Rights Reserved. HomelServices & SafetylActivitieslNewslContact Us Created & Powered by FOD Team.