เกี่ยวกับ ขนส่ง

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  

ราคาน้ำมัน  

หาระยะทาง  

ท่าเรือแหลมฉบัง  
อื่นๆ

กรมศุลกากร  

หนังสือพิมพ์  

ดูดวง  
 
 
เศรษฐกิจอียิปต์ส่อวูบต่อเนื่องเหตุรุนแรงทางการเมือง






ความรุนแรงในอียิปต์ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่อเค้าอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีก่อน ขณะที่เหตุปะทะทางการเมืองยังทวีความรุนแรงเมื่อยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงเกินกว่า 600 ราย

alt    เศรษฐกิจอียิปต์เติบโตในระดับ 7% ต่อปีในช่วง 3 ปีก่อนจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงปลายปี 2551 แม้แต่ระหว่างเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ การเติบโตของเศรษฐกิจอียิปต์ก็ยังสามารถไปได้อย่างแข็งแกร่งที่ 5% อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2554 ที่เริ่มมีการประท้วงไล่อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ออกจากตำแหน่ง เศรษฐกิจอียิปต์กลับชะลอตัวลงโดยสามารถเติบโตได้เพียงประมาณ 2.5% ตามข้อมูลของรายงานจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ที่เปิดเผยเดือนพฤษภาคม 2555
    นับตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อปีก่อน มาจนถึงการรัฐประหารยึดอำนาจจากอดีตประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี โดยกองทัพอียิปต์ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศก็ยังไม่พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่สถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองกลับเลวร้ายลง
    เศรษฐกิจอียิปต์เติบโต 2.4% ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2555 ต่ำกว่าการคาดการณ์ของเวิลด์แบงก์เล็กน้อย ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปี 2556 การเติบโตลดลงมาเหลือ 2.2% และเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศที่ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงในเวลานี้ มีความเป็นไปได้มากที่เศรษฐกิจช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณของประเทศจะเติบโตต่ำลงไปอีก
    ปัญหาสำคัญคือเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ลดลงจากมากถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อไม่กี่ปีก่อน เหลือเพียง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างกรกฎาคม 2555 ถึงมีนาคม 2556 อียิปต์ต้องการขอรับเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลง
    อีกหนึ่งปัญหาคือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงจากระดับในเดือนธันวาคม 2553 ถึงครึ่งหนึ่งเหลือ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม เงินทุนสำรองที่ลดน้อยลงทำให้อียิปต์นำเข้าสินค้าหลัก คืออาหารและน้ำมันสำเร็จรูป ได้ยากขึ้น ทั้งนี้อียิปต์เป็นผู้นำเข้าข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดของโลก

Fake Panerai Watches    มูลค่าการส่งออกของอียิปต์อยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการขาดดุลดังกล่าวกำลังเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะขาดดุลอย่างต่อเนื่องตราบใดที่ยังไม่มีทางออกทางการเมือง รัฐบาลจำเป็นต้องนำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงเพื่อป้องกันไม่ให้ความไม่สงบภายในประเทศลุกลามขยายวงออกไป
    ขณะเดียวกัน อียิปต์ผลิตน้ำมันดิบได้กว่า 7 แสนบาร์เรลต่อวันในปี 2554 และนับเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบ นอกจากนี้อียิปต์ยังมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติสำรองเป็นจำนวนมากและส่งออกประมาณ 20% ของกำลังการผลิต อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ได้ในระดับเท่าเดิมอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายจนกว่าสถานการณ์การเมืองจะสงบ
    อียิปต์ยังมีแหล่งรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งคิดเป็น 8.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างกรกฎาคม 2555 ถึงมีนาคม 2556 ขณะที่รายได้จากคลองสุเอซลดลง 3.6% ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2555 เหลือ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหากความรุนแรงภายในประเทศเลวร้ายลง
การขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซอาจจะลดลงไปอีกหรือมีการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งอ้อมปลายทวีปแอฟริกาแทน
    สถานการณ์การเมืองที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นยิ่งเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่นับวันจะยิ่งอ่อนแอลงของอียิปต์ ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุรุนแรงพุ่งสูงเกินกว่า 638 ราย และมีผู้บาดเจ็บเกือบ 4,000 คน หลายประเทศออกมาประณามการใช้ความรุนแรงปราบปรามกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีมอร์ซี รวมถึงประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ ที่ประกาศยกเลิกแผนการซ้อมรบร่วมระหว่างอียิปต์และสหรัฐฯ ที่มีกำหนดในเดือนหน้า ด้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลอียิปต์และฝ่ายภราดรภาพมุสลิม ผู้สนับสนุนนายมอร์ซี ใช้ความอดกลั้นอย่างสูงสุดและยุติความรุนแรงที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศ

แหล่งที่มา: จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,871 วันที่  18 -21   สิงหาคม  พ.ศ. 2556

swiss replica watches















swiss replica watches

<< ย้อนกลับ >>
 

 
         
  © 2009 Patarapong Logistics Co., Ltd. All Rights Reserved. HomelServices & SafetylActivitieslNewslContact Us Created & Powered by FOD Team.